วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชื่อ                                          : นางสาวจุไรวรรณ   กระจ่างจิตต์
ชื่อเรื่อง                                  : การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์
รายวิชา                                  : นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา                  : ว่าที่ ร.อ.นาดี   บุญโต
ปีการศึกษา                     : 1/2557                       

บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการรวบรวมและเผยแพร่คำศัพท์ที่วัยรุ่นใช้กันในปัจจุบัน และเป็นการสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งขั้นตอนการดำเนินโครงงานมีดังนี้ ผู้ศึกษานำ เสนอหัวข้อโครงงานต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน ผู้ศึกษาโครงงานวิเคราะห์หัวข้อโครงงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของ กำหนดกลุ่มประชากร ซึ่งได้กำหนดกลุ่มประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ  จานวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองอีดำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน สร้างเครื่องมือการวิจัย การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกว่าควรสร้างเครื่องมือวัดด้านใดบ้าง ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน ที่ต้องการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาโครงงานนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อวิเคราะห์และนำมาจัดทำโครงงาน สรุปผลการศึกษา  และนำเสนอผลการศึกษา โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล  นำเสนอเป็นรูปเล่ม และนำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และการสรุปผลจากการศึกษาเรื่อง การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ จากการตอบแบบสอบถามที่ปรากฏการใช้คำของวัยรุ่นคือ คำสแลงหรือคำคะนองที่พบในอินเตอร์เน็ตหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน  รวบรวมและเผยแพร่ คำศัพท์ที่วัยรุ่นใช้กันในปัจจุบัน และเป็นการสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน




กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาโครงงาน เรื่อง การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ เล่มนี้สำเร็จลุล่วงโดยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี จากอาจารย์ บุญโต  นาดี ซึ่งได้กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำแนวคิดวิธีการ และเสียสละเวลาอันมีค่านั้นมาแก้ไข แนะนำข้อบกพร่องของเนื้อหาด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง ผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองอีดำ และคณะครูทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินการศึกษาโครงการเล่มนี้สำเร็จไปได้



นางสาวจุไรวรรณ  กระจ่างจิตต์
















สารบัญตาราง
                                                                                                                                                                หน้า
ตารางที่ 1.1 การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์                                           11

















บทที่ 1
บทนำ
1.  แนวคิดและที่มา
                สภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมากนั้น นอกจากจะส่งผลต่อการใช้ในด้านต่างๆแล้วยังส่งผลต่อการสื่อสารที่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือด้วยปัญหาในการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากการใช้ในอินเทอร์เน็ตนั้น เริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมสนทนา (chat) และเกมออนไลน์ การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดประกอบกับความต้องการให้การสนทนาสั้นและกระชับ จึงทำให้เกิดปัญหา การกร่อนคำและการสร้างคำใหม่ ในการใช้ภาษาไทยด้วย เช่น คำว่า สวัสดีถูกกร่อนคำเหลือ ดีคับ” “ใช่ไหมเป็น ชิมิเป็นต้น คำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลเพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงว่า นั่นคือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เนื่องจากมีการนำคำเหล่านั้นมาใช้พูดและเขียนในชีวิตประจำวันด้วย จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น
2.  วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้คำในอินเทอร์เน็ต
2.2  เพื่อเป็นการรวบรวมและเผยแพร่  ภาษาที่วัยรุ่นใช้ในปัจจุบัน
2.3  เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

3.  ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. ศึกษาคำศัพท์วัยรุ่นที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มในยุคปัจจุบันได้แก่คำที่ใช้ในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคำที่ใช้บ่อย กลุ่มคำที่ใช้กับแฟน
2. คำศัพท์ที่วัยรุ่นใช้ในที่นี้คือคำสะแลงหรือคำคะนองที่ใช้ในปัจจุบันนี้เท่านั้น
3. ประชากร ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ
4. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จำนวน 20 คน
5. ระยะเวลาในการสำรวจ วันที่ 1-14 พฤศจิกายน 2557
4.  วิธีการดำเนินการ
1. ผู้ศึกษานำ เสนอหัวข้อโครงงานต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
2.  ผู้ศึกษาโครงงานวิเคราะห์หัวข้อโครงงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของ   
3. กาหนดกลุ่มประชากร ซึ่งได้กำหนดกลุ่มประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ  จานวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองอีดำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน
4. สร้างเครื่องมือการวิจัย การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกว่าควรสร้างเครื่องมือวัดด้านใดบ้าง ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน ที่ต้องการศึกษา
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาโครงงานนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อวิเคราะห์และนำมาจัดทำโครงงาน
7. สรุปผลการศึกษา  และนำเสนอผลการศึกษา โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล  นำเสนอเป็นรูปเล่ม
8.  นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
5.  ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  มีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงภาษาที่วัยรุ่นใช้ในสื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้น
2.  เข้าใจภาษาของวัยรุ่นที่ใช้กันในปัจจุบันมากขึ้น
3. ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและเหมาะสม
6.  นิยามศัพท์
       ภาษา  หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
       การใช้ภาษา หมายถึง การติดต่อสื่อความหมายในสังคมให้เป็นที่เข้าใจกันด้วยการฟังผู้อื่นพูดบ้างผู้อื่นฟังบ้างอ่านสิ่งที่ผู้เขียนและเขียนบางสิ่งบางอย่างให้ผู้อื่นอ่านบ้าง
       สื่อสังคมออนไลน์ คือ สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
       วัยรุ่น  หมายถึง  วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วุฒิภาวะทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
       ภาษาของวัยรุ่นในปัจจุบัน  หมายถึง  คําสแลงหรือคําคะนองที่ใช้ในปัจจุบัน
       คำสแลง หมายถึง  คําคะนองและกล่าวว่า คำสแลงเป็นภาษาปาก เป็นภาษาไม่เป็น
แบบแผน แต่ไม่ใช่คำต่ำ หรือ คำหยาบ เป็นคำพิเศษเฉพาะกลุ่มที่สร้างขึ้นเพื่อให้มีคำแปลกๆ
สร้างความสนุกสนาน  ระดับคํามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
       ในการศึกษาโครงงานเรื่อง  การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์  ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิด
ต่างๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1  ความหมายของภาษา
       คำว่า ภาษา”  อาจแบ่ง ความหมายออกได้เป็น  ๒  ประเภท  คือ  “ภาษาในความหมายกว้าง”  หมายถึง  ภาษาที่ใช้คําพูด(วัจนภาษา)และภาษาที่ไม่ได้ใช้คําพูดหรือภาษาท่า ทาง (อวัจนภาษา)  ทั้งนี้ภาษาในความหมายนี้  อาจนับรวมไปถึงภาษาของสัตว์ด้วย แต่เรื่องภาษาของสัตว์นี้ยังมีข้อมูลไม่มากนัก จึงไม่ค่อยมีใครนำ มากล่าวรวมกับภาษาของมนุษย์
ภาษาในความหมายแคบ”  หมายถึงภาษาที่ใช้คําพูดจะเป็นคําพูดหรือลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นเครื่องหมายใช้แทนคำพูดก็ได้  ดังนั้น ความหมายของภาษาที่เขียนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ก็คือความหมาย
ประการหลังซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้สื่อสารเพื่อความเข้าใจกันนั้นเอง นักภาษาจึงเรียก ความหมายของภาษาในแง่นี้ว่า ความหมายแคบ”  เพราะจำกัดอยู่เพียงคำพูดของมนุษย์เท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อมนุษย์พฒนาขึ้นก็มีวิธีถ่ายทอดเสียงพูดเป็นสิ่งอื่นในการสื่อสารสิ่งที่ใช้แทนเสียงในการสื่อสารก็คือ ตัวอักษร เช่นเดียวกับที่เราถ่ายทอดเสียงภาษาไทยเป็นตัวอักษรไทย (ภาสกร เกิดอ่อน,๒๕๕๒)
       ภาษาไทยเป็นขุมคลังแห่งภูมิปัญญาของคนไทยทั้งชาติเป็นเอกลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมไทยที่โดเด่นมาอย่างยาวนานแต่ทุกวันนี้ดูเหมือนภาษาไทยกำลังจะถูกลืม จากคนรุ่นใหม่ดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ประการหนึ่งก็คือผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาไทยของเด็กเยาวชน และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ล้วนตกต่ำลงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นการตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนน่าสังเกตเป็นพิเศษ ด้วยในรอบหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นแล้วการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆก็มักให้เห็นอยู่อย่างมากมายทั้งในสื่อมวลชน  ในเพลง  ในละครโทรทัศน์  และในการแชทผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งในชีวิตประจำวันเราเองที่ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับการเขียน การพูด การสื่อสารให้ถูกต้อง รวมทั้งไม่มีค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องด้วย(พระมหาวุฒิชัย  วชิรเมธี,๒๕๕๔)
       “ทกุสิ่งในโลกล้วนเป็นอนิจจงัวฏัจักรของชีวิตมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ภาษาก็มัฏัจักรชีวิตเช่นเดียวกัน ภาษามีเกิด คือ มีการสร้างคำใหม่ ภาษามีแก่ คือ คำที่คิดว่า เก๋เท่ในยุคหนึ่งก็กลับกลายเป็นคำที่ล้าสมัยในปัจจุบัน ภาษามีเจ็บ คือ ความบกพร่องในการใช้ภาษา ต้องอาศัยการเยียวยา ภาษามีการตาย คือ คำบางคำไม่มีการนำกลับมาใช้อีก(ชฎารัตน์ สุนทรธรรม,๒๕๕๔)
       คำว่า ภาษา”  เป็นคําสันสกฤตที่มาจากรากศัพท์เดิมว่า ภาษ”  เป็นคำกริยา แปลว่า กล่าว พูด หรือบอก เมื่อนำมาใช้จึงเปลี่ยนรูปเป็น ภาษา”  ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า คำพูด หรือถ้อยคำ เป็นสิ่งที่มีมนุษย์ใช้ทำความเข้าใจระหว่างคนกับคนเป็นวิธีที่มนุษย์ใช้แสดงความในใจเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้  โดยใช้เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย  พูดออกมาเพื่อสื่อความหมายใหเข้าใจตรงกัน อาจกล่าวโดยสรุปว่า ภาษา คือ เครื่องมือในการสื่อความหมายโดยผ่านทางเสียงพูด ถ้อยคำ กริยาอาการ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นทราบในการประกอบกิจการร่วมกัน(หมวดภาษาไทย
มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม),๒๕๕๑)
       ภาษาเป็นสิ่งแสดงภูมิปัญญาอันยอดของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาเสียงซึ่งเปล่งออกได้ด้วยอาการตามธรรมชาติ ให้กลายเป็นเครื่องมือใช้สื่อสารความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นรู้และสื่อสารกันได้จนเกิดเป็นภาษา มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร และทำความเข้าใจกันในหมู่คณะที่ใช้ภาษาเดียวกัน ภาษาทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ความรู้ความสามารถในการหาเลี้ยงชีพ และความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย   มนุษย์สามารถพัฒนาความรู้ ความคิด จิตใจ คุณธรรม ความเชื่อ ศิลปะ ฯลฯ จนแตกต่างจากสัตว์ทุกชนิดและเป็นผู้ครองโลกได้ด้วยภาษาของมนุษย์นี้เอง  ภาษาจึงเป็นส่วนสำคัญของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น
กลุ่มชนที่เจริญก้าวหน้าจนเป็นมหาอำนาจหรือกลุ่มชนที่ล้าหลังที่สุด ต่างก็มีภาษาใช้สื่อสารกันในกลุ่มของตน และทุกภาษาจะมีความสมบรูณ์เพียงพอที่จะใช้สื่อสารกันได้ในกลุ่มเมื่อมนุษย์ได้ติดต่อกับคนต่างกลุ่ม ติดต่อกับคนที่ใช้ภาษาต่างกันการหยิบยืมทางภาษาก็อาจเกิดขึ้นได้ในทุกกลุ่มชน การยืมจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความต้องการของคนในสังคมนั้นๆ (กาญจนา   นาคสกุล,๒๕๔๕)
2.2 คำและคำสแลง
        คำ  อาจเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย คือมีเกิด ดำรงอยู่แล้วก็ตายไป คำจำนวนไม่น้อยที่เคยใช้กันมาแต่โบราณ ปัจจุบันได้สูญไปจากภาษา มีคำใหม่เกิดขึ้น คำใหม่ที่เกิดขึ้นนี้บางคำ เพียงแต่ใช้พูดกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะโอกาส และอาจเสื่อมความนิยมไป มีผู้เรียกคำ เช่นนี้ว่า  คำคะนอง บางคำใช้เรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งใหม่เหล่านี้อาจเป็นวัตถุสิ่งของ ความคิด กิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ คำ เช่นนี้เกิดขึ้นด้วยความจำเป็น และติดอยู่ในภาษามักไม่เสื่อมความนิยม (กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๐)
       บุญ  ยงค์เกศเทศ กล่าวว่า คำสแลงเกิดขึ้น ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นภาษาพูด ที่นิยมกันใน
บางหมู่คณะ บางกรณีก็ต้องพูด เพื่อให้ออกรส จึงพยายามสร้างรูปภาษาให้แปลกออกไป คำสแลง
มักไม่ติดอยู่ในภาษานานนัก เมื่อคำหนึ่งหาย ตายไปก็มักนิยมคำใหม่ขึ้นแทน คำสแลงนั้น มีใช้กัน
มาทุก ยุค ทุก สมัย เช่น มันส์เติ้ลหย่อย สะเหล่อ ยากส์ซ่าส์ฟฟู่ เก่าก๊ึกก์เซ็งระเบิด
สมโรจน์สวัสดิกุล ณ อยธุยา เรียกคำสแลงว่า คำคะนองและกล่าวว่า คำสแลงเป็น
ภาษาปาก เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำต่ำ หรือ คำหยาม เป็นคำพิเศษเฉพาะกลุ่มที่
สร้างขึ้นเพื่อให้มีคำแปลกๆสร้างความสนุกสนาน  ระดับคำมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย
2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น
        ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้าไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุด เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาออนไลน์ (MSN) หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต
       การใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเองวัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสม มีหลายสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ภาษาที่ผิดๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลัง ๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องสื่อมวลชน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆของประชาชนเพราะ สื่อมวลชนเป็นผู้ที่ให้ข้อมูล ข่าวสารกับประชาชนทุกวัน สื่อมวลชนต้องเป็นผู้นำที่ดีที่สุดของการใช้ภาษาและต้องให้ข้อคิดอยู่เสมอว่า ภาษานั้นสะท้อนความเป็นตัวของเราเอง ถ้าใช้ภาษาดี ภาษาที่ถูกต้อง ภาษาที่นำสังคมไปในทางสร้างสรรค์ สร้างความสามัคคี สร้างความรัก สร้างความภูมิใจในชาติจะทำให้ทุกคนเห็นคล้อยตาม แต่ถ้าหากว่าสื่อมวลชนนำภาษาที่ประหลาด ภาษาที่ไม่ถูกต้องเอามาเผยแพร่บ่อยๆ คนจะคิดว่าสิ่งที่สื่อมวลขนมาเผยแพร่นั้นถูกต้อง เป็นสิ่งที่ดี มันจะทำลายภาษาไทย โดยเฉพาะการใช้ภาษาในข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ต่างๆ เป็นต้น
       ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาไทย ก็คือ ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน เกิดจาก ครู
เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความ
ละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้
นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
2.4 รูปแบบการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น
       การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งสารจะต้องทำให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายของตน ให้มาก
ที่สุด แต่การสื่อสารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จะทำให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าย่อมแตกต่างจากการสื่อสารแบบผ่านเครื่องมือการสื่อสาร หรือการสื่อสารด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ย่อมมีความแตกต่างการสื่อสารด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียง ในปัจจุบันปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย คือการใช้ภาษาในทางวิบัติ และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ภาษาอยู่หลายประเภท เช่น
       2.4.1 รูปแบบการพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้เวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยการพูดมักจะพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง
       2.4.2 รูปแบบการเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติประเภทนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่นำมาใช้ผิด
หลักของภาษา คนที่ใช้ภาษาวิบัติเวลาเขียนนั้นจะเขียนตามเสียงอ่าน เพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบหรือ ต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า ได้แก่
       2.4.2.1 การเขียนตามเสียงพูด
       2.4.2.2 การสร้างรูปการเขียนใหม่
       2.4.3 รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่าน
       2.4.4 กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงความหมาย
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน
3.1  วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษ  ปากกา  ยางลบ  ดินสอ  ไม้บรรทัด
2. คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต
3. โปรแกรม Microsoft Word
4. แบบสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์
3.2  ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
1. ผู้ศึกษานำ เสนอหัวข้อโครงงานต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
2.  ผู้ศึกษาโครงงานวิเคราะห์หัวข้อโครงงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของ   
3. กำหนดกลุ่มประชากร ซึ่งได้กำหนดกลุ่มประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ  จานวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองอีดำ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน
4. สร้างเครื่องมือการวิจัย การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกว่าควรสร้างเครื่องมือวัดด้านใดบ้าง ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอีดำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จานวน 20 คน ที่ต้องการศึกษา
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาโครงงานนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อวิเคราะห์และนำมาจัดทำโครงงาน
7. สรุปผลการศึกษา  และนำเสนอผลการศึกษา โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล  นำเสนอเป็นรูปเล่ม
8. นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน





บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1  ผลการดำเนินงาน
       จากการศึกษาเรื่อง การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจจาก นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหนองอีดำ และ อินเตอร์เน็ต ได้ผลการศึกษาดังนี้ คือ
คำที่ใช้ในกลุ่มเพื่อน
คำที่ใช้บ่อย
คำที่ใช้กับแฟน
เธอ แปลงเป็น เทอ
 กู แปลงเป็น กรู
 สัตว์ แปลงเป็น สาด
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
จริง แปลงเป็น จิง
แดก แปลงเป็น แดร๊ก
เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 5555
ยิ้ม แปลงเป็น : )
ทำหน้าตาเบื่อโลก แปลงเป็น  -_-

อะไร แปลงเป็น อาราย
ได้ แปลงเป็น ด้าย
ไม่ใช่ แปลงเป็น ม่ายช่าย
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
จริง แปลงเป็น จิง
เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 5555
ยืม แปลงเป็น : )
เธอ แปลงเป็น เทอ
 กู แปลงเป็น กรู
 สัตว์ แปลงเป็น สาด
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
เหรอ แปลงเป็น หรา
จ้า แปลงเป็น จร้า
 จริง แปลงเป็น จิงดิ
 คิดถึง แปลงเป็น คิดถุง
 รัก แปลงเป็น ร๊าก
 ขอบใจ แปลงเป็น ขอบจัย
 จริงหรือเปล่า แปลงเป็น จิงเป่า
 ตัวเอง แปลงเป็น ตะเอง


4.1  การนำไปใช้
1. การนำคำที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
2. ผู้ศึกษาจะนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อแก่ผู้ที่ยังมีความบกพร่องในประเด็นปัญหานี้และปรับปรุงแก้ไขต่อไป


บทที่ 5
สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
       5.1  สรุปผลการดำเนินงาน
       จากการศึกษาเรื่อง การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ จากการตอบแบบสอบถาม
 ที่ปรากฏการใช้คำของวัยรุ่นคือ คำสแลงหรือคำคะนองที่พบในอินเตอร์เน็ตหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน  รวบรวมและเผยแพร่ คำศัพท์ที่วัยรุ่นใช้กันในปัจจุบัน และเป็นการสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
       ผลการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน มีรายละเอียด
ดังนี้คือ
คำที่ใช้ในกลุ่มเพื่อน
คำที่ใช้บ่อย
คำที่ใช้กับแฟน
เธอ แปลงเป็น เทอ
 กู แปลงเป็น กรู
 สัตว์ แปลงเป็น สาด
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
จริง แปลงเป็น จิง
แดก แปลงเป็น แดร๊ก
เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 5555
ยิ้ม แปลงเป็น : )
ทำหน้าตาเบื่อโลก แปลงเป็น  -_-

อะไร แปลงเป็น อาราย
ได้ แปลงเป็น ด้าย
ไม่ใช่ แปลงเป็น ม่ายช่าย
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
จริง แปลงเป็น จิง
เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 5555
ยืม แปลงเป็น : )
เธอ แปลงเป็น เทอ
 กู แปลงเป็น กรู
 สัตว์ แปลงเป็น สาด
เปล่า แปลงเป็น ป่าว
เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
เหรอ แปลงเป็น หรา
จ้า แปลงเป็น จร้า
 จริง แปลงเป็น จิงดิ
 คิดถึง แปลงเป็น คิดถุง
 รัก แปลงเป็น ร๊าก
 ขอบใจ แปลงเป็น ขอบจัย
 จริงหรือเปล่า แปลงเป็น จิงเป่า
 ตัวเอง แปลงเป็น ตะเอง





5.2 อภิปรายผล
       สาเหตุที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้กันในปัจจุบันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการดังนี้
๑.  เมื่อการติดต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นช่องทางใหม่ในการสื่อสาร ภาษา
ในยุคนี้จึงแปลกเปลี่ยน เกิดภาษาใหม่ๆ บางคำมาจากแป้นพิมพ์ที่อยู่ติดกันพิมพ์ง่ายกว่าจึงเกิดคำใหม่แทนคำ เก่า
๒.  เพื่อลดความรุ่นแรงในการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ
๓.  คำศัพท์ใหม่ๆ ที่วัยรุ่นหรือคนบางกลุ่มนำมาใช้จนแพร่หลายนั้น ก็เพราะว่า คำไทยที่มีอยู่เดิมอาจจะไม่สามารถสื่อถึงลักษณะและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารได้มากพอคน  ส่งสารก็เลยต้องพยายามคิดคำขึ้นมาใหม่ให้สามารถบอกรายละเอียดและความรู้สึกของตนเองให้ได้มากที่สุด
๔.  การเขียนคำไทยในอินเตอร์เน็ต หรือนิตยสารเพื่อความบันเทิง จะเขียนตามเสียงอ่านเพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบ หรือ ต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า
   ทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นอนิจจัง วัฏจักรของชีวิตมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ภาษาก็มีวัฎจักรชีวิต  เช่นเดียวกัน
     ภาษามีเกิด  คือ  มีการสร้างคำใหม่ๆ ขึ้นมา
     ภาษามีแก่  คือ  คำที่คิดว่า เก๋ เท่ ในยุคหนึ่ง ก็กลับกลายเป็นคำที่ล้าสมัยในปัจจุบัน
     ภาษามีเจ็บ  คือ  ความบกพร่องในการใช้ภาษา ต้องอาศัยการเยียวยารักษา
     ภาษามีตาย  คือ  คำบางคำไม่มีการนำกลับมาใช้อีก
       การใช้ภาษาในการสื่อสารของวัยรุ่นนั้นถ้าใช้กัน เฉพาะกลุ่มหรือใช้ในระดับกันเองไม่เป็นทางการก็คงไม่ทำให้ภาษาไทยของชาติถึงกับวิบัติถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม  หลังจากที่รวบรวมคำที่วัยรุ่นมักใช้ในปัจจุบันได้แล้วนำไปเผยแพร่โดย  การติดบอร์ดให้ความรู้หน้าห้องสมุด รวมทั้งเผยแพร่ทางเว็ปไชต์ของโรงเรียน
5.2  ปัญหาและอุปสรรค
1.  ผู้ตอบแบบสอบถามตอบคำถามน้อย
2.   งบประมาณในการทำโครงงานไม่เพียงพอ
5.3  ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
       จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน  ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับโครงงานคือ
๑.  รวบรวมคำที่วัยรุ่นใช้กัน ในปัจจุบันให้มากกว่านี้
๒.  ภาษาที่วัยรุ่นใช้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากควรมีการศึกษาและรวบรวมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอๆ
๓.  ครูทุกคนควรร่วมกันสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องไม่คิดว่าเป็นหน้าที่ของครูที่สอนภาษาไทยเพียงอย่างเดียว
๔. ธรรมชาติของภาษามีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ผู้ใหญ่หรือครูควรให้คำชี้แนะในด้านการเลือกใช้คำที่ถูกต้องแก่วัยรุ่น



ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ : นางสาวจุไรวรรณ   กระจ่างจิตต์
ชื่อเรื่อง  : การสำรวจการใช้ภาษาวัยรุ่นในสื่อออนไลน์
รายวิชา : นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ประวัติส่วนตัว
เกิดวันที่ 30 เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2536
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ 2 ตำบล กระโพ  อำเภอ ท่าตูม  จังหวัด สุรินทร์ 32120
คติ : อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น


ประวัติการศึกษา
- จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบ้านกระโพ(กระโพราษฏ์วิทยาคาร)  ตำบล กระโพ อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์
- จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์  อำเภอ จอมพระ
จังหวัด สุรินทร์
- ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาการประถมศึกษา